วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สาเหตุเด็กติดเกมส์

1.  ครอบครัว
ครอบครัวอ่อนแอไม่มีความสุขหรือการที่ครอบครัวไม่มีเวลาพูดคุยกัน ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ ไม่มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ครอบครัวไม่มีความสุข ทำให้เด็กต้องหันเข้าหาสิ่งที่ทำให้ตนเองมีความสุขได้ง่ายๆ คือการเล่นเกมหรืออินเทอร์เน็ต
2.  ตัวเด็ก  เกมสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้ 3 เรื่อง คือ
1.ความท้าทายและต้องการเอาชนะ
2.การพนันขันต่อ
3.สนองความรุนแรงในตัวเด็ก ทำให้เด็กหลายคนลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับเกม        
3.  เกิดจากจำนวนร้านเกมส์เพิ่มมากขึ้น  ทำให้เด็กและเยาวชนมีทางเลือกในการเล่นเกมส์มากขึ้น
4.  หน่วยงานที่รับผิดชอบขาดการควบคุมดูแลอย่างจริงจัง  มีการตรวจสอบเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่อง  ทำให้ผู้ประกอบการร้านเกมส์ไม่กระตือรือร้นร้นในการปฏิบัติตามกฎหมาย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคติดอินเทอร์เน็ต

โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต  
-            รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
-      มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้     
-           รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
-          คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
-          ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
-          หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
-           มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย

        ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

อินเตอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย

อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการทางโทรทัศน์ และวิทยุต่าง ๆ ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสาธารณะในแง่มุมต่าง ๆ มีทั้งนำเสนอในเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น       
           แนวโน้มของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากยิ่งขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลายมากกว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการส่งเสริมและให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ง่ายและได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น  
           การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวกเช่น สามารถได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนมีความรู้ สามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทันสมัย ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทำให้เยาวชนได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยดูแลบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่นดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ใช้สนทนาในเรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจำเป็นและความเหมาะในเรื่องของเวลาและเนื้อหาที่ใช้ในการสนทนาด้วย   
ข้อควรระวัง การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องโรคระบาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ได้และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตน แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ในที่สุด จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูลข่าวสาร
ฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โทษของอินเทอร์เน็ตและโรคติดอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต            
         - โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย        
ของผิดกฎหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ                
         - อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก        
         - มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก            
         - ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร   
         - เติบโตเร็วเกินไป       
         - ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน  
         - ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้              
         - ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ       
         - ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
         - เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
         - ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว            

โรคติดอินเทอร์เน็ต 
       โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
         - รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต            
         - มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
         - รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้             
         - คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น              
         - ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา   
         - หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง 
         - มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย     
        ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย           
ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

6 ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต

             “ภัยใกล้ตัว” ที่คนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำหรือพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานใช้อินเทอร์เน็ต ควรที่จะรู้ถึงภัยอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ตไว้ เพื่อจะได้ระมัดระวังตัวและคอยตักเตือนบุตรหลานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหากิน           
ศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการรวบรวม “ภัยใกล้ตัว” ที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสร้างความเสียหายต่อคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กๆ ที่ยังขาดวิจารณญาณในการตัดสินใจไว้หลายประเภท
             ประเภทแรก ที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือการถูกหลอกลวง เพราะมิจฉาชีพส่วนใหญ่จะเข้าใจและรู้ว่าคนส่วนมากต้องการได้ของ ”ถูกและของดี” ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคือการหลอกซื้อโทรศัพท์มือถือ ยาลดความอ้วน    
            ประเภทที่สอง เสนอการทำงานนอกเวลาโดยใช้เว็บบอร์ดส่งข้อความง่ายๆ แต่สามารถกระตุ้น “ความอยาก” ได้ไม่ยาก เช่น มีงานนอกเวลารายได้ดี แต่เมื่อมีการติดต่อไปส่วนใหญ่จะกลายเป็นทำธุรกิจแบบ “แชร์ลูกโซ่ “ คือจะต้องหาสมาชิกเพิ่มตามจำนวนที่กำหนดจึงจะได้เงินตามประกาศ บางรายอาจเสียทั้งเงินและเวลา     
                ประเภทที่สาม การหลอกขายอุปกรณ์ ยา ซึ่งกรณีนี้มีข่าวในช่วงปีใหม่ว่ามียาสลบ ยานอนหลับ ยาปลุกเซ็กซ์ ขายพร้อมแนะนำวิธีการใช้ เช่น แบบเม็ด ทานได้เลยหรือนำไปบดให้ละเอียดแล้วใส่แก้วผสมเครื่องดื่มอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่น้ำเปล่าถ้าจะให้ได้ผลเร็วขึ้น จะทำให้หลับหรือหมดสติประมาณ 3 – 5 ชม. ครับ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรสชาติ ขายราคาเม็ดละ 600 บาท รับประกันคุณภาพ 100% เหลือแค่ 5 เม็ดสุดท้าย ใกล้ปีใหม่ขายดีครับ ดูตัวอย่างได้ตามรูปที่ให้เอาไว้ครับ แบบน้ำ แบบนี้เวลาใช้งานจะสะดวกกว่าแบบเม็ดครับเพราะไม่ต้องบด ไม่มีกลิ่นและรสชาติ ทำให้หลับได้นาน 6 - 10 ชม. 1 หลอดใช้ได้ประมาณ 3 – 5 ครั้ง ราคา 3,500 บาท เหลือ 2 หลอดสุดท้ายครับไม่ต้องจ่ายเงินก่อน หรือถ้าใน กทม. นัดเจอรับของกันได้เลยแต่ต้องคุยกันก่อนนะ ให้เบอร์ไว้ด้วยก็ดี จะติดต่อกลับโดยเร็วครับ
กลุ่มนี้จะมีวิธีการสั่งซื้อทางอีเมลล์หรือสั่งซื้อผ่านโทรศัพท์ โดยจะบอกขั้นตอนต่างๆ ไว้เรียบร้อยบางรายหลงเชื่อโอนเงินเรียบร้อยแต่ไม่ได้รับของ บางคนได้รับของแต่ไม่ใช่ชนิดที่โฆษณา
              ประเภทที่สี่ คนขายโทรศัพท์ โกงผู้ซื้อ โดยมีการเสนอขายโทรศัพท์มือถือราคาถูก ซึ่งอาจอ้างว่า

“ภัยกับดักหลอกลวงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์ และการโจมตีผู้เล่นเกมออนไลน์”

เป็นปัญหาการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตโดยวิธีการใหม่ของแฮกเกอร์ ที่เรียกว่า phishing กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มแฮกเกอร์ที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางด้าน การเงิน เช่น ขโมยเงินจากการใช้งานธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ลักษณะ การโจมตีแบบ phishing คือการแกล้งส่งอิเล็กทรอนิกส์เมล์มาหลอกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำ ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หรือการซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เช่น Amazon, eBay และ PAYPAL ก็ล้วนเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ไม่หวังดีทั้งสิ้น    
อิเล็กทรอนิกส์ เมล์ที่ถูกส่งมายังผู้ใช้บริการดังกล่าวจะถูกตกแต่งมาให้ดูเหมือนมาจาก ธนาคาร หรือบริษัทที่เราติดต่ออยู่เป็นประจำ โดยถ้าไม่สังเกตก็จะไม่พบความแตกต่าง ดังนั้นผู้ใช้ต้องหมั่นสังเกตอิเล็กทรอนิกส์เมล์ในลักษณะดังกล่าว เพื่อที่จะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อโดยการป้อนข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้กับ แฮกเกอร์ โดยที่นึกว่ากำลัง "Logon" เข้าใช้ระบบจริงๆ           

นอก จากนี้มีการโจมตีแบบ farming เป็นการโจมตีที่ DNS server หรือการเข้ามาแก้ไขไฟล์ HOSTS ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้เพื่อต้องการ "redirect" เว็บไซต์ที่เราเข้าชมตามปกติให้ชี้ไปยังเว็บไซต์ ที่แฮกเกอร์ได้เตรียมไว้ก่อนล่วงหน้าและขณะนี้แฮกเกอร์ นิยมโจมตี domain name ด้วยวิธีที่เรียกว่า domain name hijacking คือ การขโมยโดเมนเนมแล้วย้าย โดเมนไปไว้ที่อื่นเพื่อเตรียมขายทอดตลาด หรือเรียกเงินค่าโดเมนกับเจ้าของโดเมนในกรณีที่เจ้าของโดเมนอยากได้คืน และการโจมตีแบบ gold farming คือ การโจมตีผู้เล่นเกมออนไลน์โดยการเจาะระบบเข้าไปขโมยของในเกม ซึ่งทรัพย์สินที่อยู่ในเกมสามารถนำมาขายในตลาดมืดให้แก่ผู้เล่นเกมที่มีความ ต้องการ ซึ่งการโจมตีลักษณะนี้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียก ตัวเองว่า "gold farmer" 

“คนรอบข้างต้องใส่ใจ” วิธีป้องกันภัย อินเตอร์เน็ต”

          ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้โลกไร้พรมแดน อย่างอินเตอร์เน็ตนำความสะดวกสบาย และประโยชน์มามากมายสู่มนุษย์ อาทิ การประชุมที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงสถานที่นั้นๆ เพียงมีระบบ วีดีโอ Conference ก็สามารถประชุมได้แล้ว หรือจะเป็นเรื่องของความรวดเร็วในการก้าวทันโลกยุคข่าวสาร เพียงแค่ใช้ปลายนิ้วคลิกเข้าเว็บไซต์ก็สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ รวมถึงความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อของก็สามารถทำธุรกรรมผ่านตลาดออนไลน์ในโลกไซเบอร์ ได้
          “
แชทหรือ ระบบสนทนาผ่านแป้นพิมพ์ คืออีกหนึ่งความสามารถของอินเตอร์เน็ต และเป็นที่นิยมอย่างมาก จนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันภัยที่เกิดจากอินเตอร์เน็ตมีเกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับวิทยาการอันก้าวล้ำเช่นกัน        
         
ตัวอย่าง คดีฆ่าหั่นศพหญิงสาว ด้วยน้ำมือฆาตรกรหนุ่มจากปากีสถาน ซึ่งทั้งสองรู้จักกันผ่านการแชท และกรณีเช่นนี้หาได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หากแต่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นการล่อลวงไปข่มขืน จากเหตุที่เกิดขึ้น ทำเอาบางกลุ่มชนในสังคมไม่อยากให้มีระบบอินเตอร์เน็ตกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ใหญ่ซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในระบบ
         
อย่าง นางสมหมาย เรืองจรูญอาชีพค้าขาย เจ้าตัวกล่าวว่าเธอมีลูกสาวชอบเล่นอินเตอร์เน็ตทุกวัน และตัวเธอเองไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวเลย          
          “
เรามีเพียงปัญญาหาเงินให้ได้มากที่สุดเพื่อลูกเท่านั้น เขาอยากได้อะไรก็หาให้ อะไรที่สนับสนุนการศึกษาเขา เพื่อทำให้เขาได้เรียนได้อย่างเต็มที่ ก็ยินดีที่จะหามาให้ลูก”             
          “
คอมพิวเตอร์ก็เป็นของที่เราหาให้เขา จ่ายค่าอินเตอร์เน็ตให้ทุกเดือน ไอ้การที่เขาจะนำไปเล่นแบบที่เกิดปัญหาอย่างในข่าว เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้และก็ไม่มีทางรู้ได้เลย นี่ก็เพิ่งรู้ว่ามันมีอย่างนี้ด้วย มีการหาคู่ของวัยรุ่นทางอินเตอร์เน็ตด้วย พอรู้ก็ตกใจเหมือนกัน        
         
ใจเราก็ไม่อยากให้เขาไปเล่นเลย แต่ก็ห้ามไม่ได้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างนี่เราก็หามาให้เขาได้ใช้ แต่เมื่อมันเป็นดาบสองคม อันนี้ก็จนปัญญา ก็หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่นั่นแหละห่วงเขา คงต้องขึ้นอยู่กับลูกว่าเขาจะเลือกอย่างไร เราเลี้ยงเขาได้แค่ตัว ทำได้แค่ดูแลส่งเสีย และก็เป็นห่วงในสภาพสังคมร้ายๆ ที่มีอยู่ทุกวันนี้ ไม่อยากให้อะไรที่มันไม่ดีเกิดกับลูกเรา”        
         
นั่นคือความรู้สึกจากปากของผู้ปกครองซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอินเตอร์เน็ต มีเพียงสิ่งเดียวก็คือห่วงความปลอดภัยของบุตรหลานในขณะที่ตัวของนักศึกษาที่มีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีทันสมัยอย่างที่ว่าบอกภัยที่เกิดขึ้นจากการแชทเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ โบ ณัฐรินีย์ พาทีไพเราะนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้า เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่คิดเช่นนั้น   

         
นอกจากนี้ โบยังให้ความเห็นว่าคนที่ชอบแชทกับคนที่ไม่รู้จักเป็นเวลานาน และชอบที่จะแชทกับคนที่ไม่รู้จัก หลายๆ คน น่าจะเป็นคนขี้เหงา ก็เลยรู้สึกดีกับการสนทนาผ่านทางคอมพิวเตอร์                
          “
คนที่เป็นอย่างนั้น คนรอบข้างนี่ล่ะสำคัญต้องช่วยกัน ช่วยกันดูแลวิธีนี้น่าจะเป็นการป้องกันที่ดี เพื่อไม่เปิดช่องทางให้เกิดอาชญากรรมอย่างที่เกิดขึ้น อย่างโบเอง คุณแม่คอยเตือนและดูแล ยิ่งพอเห็นข่าวในทีวีว่าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้นะ เพราะอินเตอร์เน็ต คุณแม่ก็เข้ามาเตือนและสอนประจำเลยค่ะ